ดาวน์ซินโดรม เป็นภาวะผิดปกติส่งผลต่อสติปัญญาและพัฒนาการของทารก พ่อแม่ที่กำลังรอเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลกย่อมมีความกังวลใจถึงสุขภาพของลูกน้อย โดยเฉพาะโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากรู้เท่าทันโรคควรต้องดูแลครรภ์ให้ถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงลูกน้อยเป็นดาวน์ซินโดรม
ดาวน์ซินโดรม คืออะไร
ดาวน์ซินโดรม คือ ภาวะที่เด็กมีโครโมโซมเกิน ปกติมนุษย์จะมีโครโมโซม 46 XY ถ้าเป็นผู้ชาย และ 46 XX ถ้าเป็นผู้หญิง แต่ถ้าคนไหนมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินจะส่งผลต่อสติปัญญาและพัฒนาการของทารก ทำให้เกิดโรคเฉพาะที่เรียกว่า ดาวน์ซินโดรม ทำให้มีพัฒนาการช้า มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และอาจพบโรคหัวใจร่วมด้วย
การเสี่ยงตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
- แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงไม่มากนัก
- แม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป ก็มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
- ผลตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น ทารกมีขาสั้น ลิ้นโตกว่าปกติ
การตรวจหาดาวน์ซินโดรม
1. โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)
- การเจาะน้ำคร่ำ เป็นวิธีการเจาะเข้าไปในถุงน้ำที่ห่อหุ้มตัวทารกและดูดน้ำคร่ำนำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ
- วิธีการตรวจทำโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องของสตรีตั้งครรภ์และดูดน้ำคร่ำ (รายละเอียดตามเอกสาร ความรู้เรื่องการเจาะน้ำคร่ำ)
- ประโยชน์ของการตรวจเพื่อตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์หรือโรคทางพันธุกรรมบางโรค (เฉพาะในกรณีที่เป็นข้อบ่งชี้ของการตรวจ)
- ข้อจำกัดของการตรวจ
– บางครั้งไม่สามารถดูดน้ำคร่ำมาตรวจได้หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ในน้ำคร่ำอาจไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่สามารถทราบผลการตรวจ
– แม้ว่าผลการตรวจจะเป็น “ปกติ” แต่ทารกอาจมีความพิการแต่กำเนิด หรือมีพัฒนาการช้า จากสาเหตุอื่น - ภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่มีความเสี่ยงน้อย ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ปวดเกร็งท้องเล็กน้อยหลังการเจาะ แต่บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ การแท้งหรือเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดได้ 1 ราย จากการตรวจ 200 ราย การตรวจอาจทำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานในผู้ที่มีกลุ่มเลือด Rh negative ซึ่งป้องกันได้ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้รับยาบางชนิด การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
- โดยวิธีตรวจจากสารเคมี คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมานานว่า เด็กดาวน์ซินโดรม (ปัญญาอ่อน) เกิดจากมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เด็กดาวน์จำนวนมากเกิดจากมารดาที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี หากสำรวจเด็กดาวน์จำนวน 100 คน จะพบว่า เกิดจากมารดาอายุมากเพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น ที่เหลืออีกร้อยละ 70-75 เกิดจากมารดาที่อายุน้อย แม้ว่ามารดาอายุมากจะมีความเสี่ยงในการเกิดเด็กดาวน์มากกว่า แต่เนื่องจากมารดาอายุมากมีจำนวนน้อย ดังนั้นการตรวจน้ำคร่ำในมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เท่านั้นจะสามารถป้องกันการเกิดเด็กดาวน์ได้เพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น เราสามารถตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์โดยการตรวจเลือดมารดาในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง เพื่อให้ทราบว่า มารดามีความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดเด็กดาวน์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูง แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจน้ำคร่ำต่อไป หากพบว่ามีความเสี่ยงต่ำ ก็อาจไม่คุ้มที่จะทำการตรวจน้ำคร่ำ
- โดยวิธีการตรวจ NIPT
ความผิดปกติของการมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง (Trisomy) ในโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งการตรวจ NIPT จะประเมินโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะมีโครโมโซมผิดปกติ โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของ DNA ซึ่งอยู่ในพลาสมาของมารดาโดยใช้เทคโนโลยี high-throughput DNA sequencing ร่วมกับการใช้ชีวสารสนเทศขั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล และการตรวจ NIPT ไม่มีความเสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากทำโดยการเจาะเลือดมารดาเท่านั้น โดยมีอัตราการตรวจพบ และความแม่นยำของผลการตรวจมากกว่าร้อยละ 99

วัตถุประสงค์หลักในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21,18 และ13 ทั้งในครรภ์เดี่ยวและครรภ์แฝด สาหรับครรภ์เดี่ยวการตรวจนี้อาจตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น Turner Syndrome (XO), ความผิดปกติอื่นๆ ของโครโมโซมเพศ, sub-chromosomal deletion และ duplication ซึ่งจะระบุไว้ในส่วน Additional Finding
ข้อมูลจากผลการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน แสดงว่าการตรวจ NIPT มีความแม่นยำสูงมาก สามารถตรวจพบความผิดปกติชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 ได้มากกว่าร้อยละ 99 และผลบวกลวงน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่การตรวจนี้ถือเป็นเพียงการตรวจกรองเท่านั้น มิได้เป็นการตรวจเพื่อการวินิจฉัย กรณีที่ผลการตรวจกรองผิดปกติ ต้องตรวจยืนยันโดยการตรวจโครโมโซมทารกเสมอ และในกรณีที่ผลการตรวจกรองเป็นปกติ ก็ไม่สามารถบอกว่าทารกมีโครโมโซมปกติได้ทั้งหมด
การตรวจนี้ หากตรวจขณะอายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ อาจมีปริมาณ DNA ของทารกน้อยเกินไป ทำให้เกิดผลลบลวงได้ และการตรวจนี้ไม่สามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องในกรณีดังต่อไปนี้ มารดามีโครโมโซมผิดปกติชนิดต่างๆ เช่น aneuploidy, mosaicism, chromosome microdeletion, microduplication และ multiple pregnancies เป็นต้น หากมารดาได้รับเลือด หรือ การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้จาก exogenous DNA
ลักษณะผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม
ลักษณะทางกายภาพทั่วไปของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม
- ใบหน้าแบนโดยเฉพาะดั้งจมูก
- ดวงตาเป็นรูปอัลมอนด์ที่เอียงขึ้น
- คอสั้น แขนสั้น ขาสั้น นิ้วสั้น หรือเท้าสั้น
- หูเล็ก มือและเท้าเล็ก
- มีลิ้นที่ยื่นออกมาจากปาก
- จุดสีขาวเล็ก ๆ บนม่านตา (ส่วนที่เป็นสี) ของดวงตา
- นิ้วก้อยมีลักษณะเล็ก หรือโค้งไปทางนิ้วหัวแม่มือ
- กล้ามเนื้อไม่สมบูรณ์ หรือข้อต่อหลวม
- ตัวเล็กกว่าปกติในคนวัยเดียวกัน
รักษาดาวน์ซินโดรม
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะดาวน์ซินโดรม แต่การตรวจเช็กอย่างละเอียดจะช่วยให้ครอบครัวสามารถวางแผนเตรียมความพร้อมและดูแลเจ้าตัวเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมในทารกเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจ ซึ่งการฝากครรภ์และพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้งจะช่วยให้ตรวจคัดกรองได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมในทารกจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- โรคลำไส้แปรปรวน มีอาการและสาเหตุมาจากอะไร
- ตากระตุก น่ารำคาญแต่อาจเป็นสัญญาณบอกโรคร้าย
- ผมร่วง เพราะอะไร และรักษาได้อย่างไร
- เกลื้อน โรคที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย
- แพ้ท้อง มีอาการและวิธีรักษาอย่างไร
ที่มาของบทความ
- https://bangpo-hospital.com
- https://www.bangkokhospital.com
- http://www.begaonesenior.com
- https://www.paolohospital.com
ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ lacasitadelprincipe.com
สนับสนุนโดย ufabet369