ลูกชอบเถียง เป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะความเชื่อที่ถูกพร่ำสอนกันมารุ่นต่อรุ่นว่า “เป็นเด็กเป็นเล่นอย่าหัดเถียงผู้ใหญ่” แต่บางครั้งการเถียงของเด็กไม่ใช่เป็นการเถียงเพื่อต้องเอาชนะ หรือต่อต้านพ่อแม่ แต่เป็นการโต้แย้งโดยใช้เหตุผลมากกว่า ซึ่งการสอนให้ลูกหัดเถียงเป็นสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ควรสอน ไม่ใช่ห้ามปราม เพราะเด็กจะได้เสนอความคิดเห็นของตัวเอง

ลูกชอบเถียง เพราะอะไร

ลูกชอบเถียงจริงหรือ? ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าการเถียงเป็นเรื่องธรรมชาติ และไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่เถียง เพราะการที่ลูกชอบเถียงเป็นพัฒนาการตามวัยในทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะเด็กวัย 3-5 ขวบ ที่เขาเริ่มพูดได้ และเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น เพียงแต่ว่าเขายังไม่สามารถเรียบเรียงคำ หรืออธิบายเหตุผลด้วยคำพูดที่รู้เรื่องน่าฟัง นั่นทำให้ผู้ใหญ่คิดว่านี่คือการยอกย้อนหรือลูกชอบเถียง เถียงคำไม่ตกฟาก

ซึ่งการที่ลูกชอบเถียงจะเกิดขึ้นจากความรู้สึกที่ว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ หรือเรื่องราวมันไม่ใช่แบบนั้นสักหน่อย เพราะในหลายครั้งที่พ่อแม่มักเหมารวมการกระทำของลูก ด้วยคำพูดตำหนิและใส่อารมณ์เพิ่มเข้าไป ประมาณว่า “บ้านรกอีกแล้ว หนูไม่เคยเก็บของเล่นเลย” “ทำไมไม่รู้จักช่วยงานบ้านบ้าง” ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ลองคิดดูดีๆ ลูกก็ทำในสิ่งที่เราบอก เพียงแต่ว่าในครั้งนี้เขายังไม่ได้ทำ เราก็แค่บอกให้เขาทำแค่นั้นเอง เช่น “ช่วยแม่เก็บของเล่นหน่อยนะคะคนเก่ง คราวที่แล้วที่หนูเก็บเอง เก่งและเรียบร้อยมากๆ เลยค่ะ”

สาเหตุที่ลูกชอบเถียง

สามารถแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ

1. ลูกชอบเถียง เพราะลูกมีความเป็นตัวของมากขึ้น

ลูกน้อยจากที่เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย พอเริ่มเข้าวัย 2 ขวบ เขาจะเริ่มรู้เรื่องมากขึ้น เข้าใจอะไรต่าง ๆ มากขึ้น หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “Terrible Two (วัยทอง 2 ขวบ) คืออะไร? ข้อดีของ Terrible Two” ยิ่งพอเข้าสู่วัย 3 ขวบ ลูกน้อยเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง อยากทำอะไรด้วยตัวเอง อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เขามีส่วนร่วมล่ะก็ เขาก็จะเริ่มหงุดหงิด เริ่มโมโหนั่นเอง

2. ลูกชอบเถียง เพราะศัพท์ในหัวยังมีน้อย

การที่ลูกน้อยทำอะไรไม่ได้ดั่งใจตัวเอง ไม่รู้จะอธิบายกับคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างไร ด้วยความที่เขากลัวว่าคุณพ่อคุณแม่จะไม่เข้าใจเขา ผนวกกับศัพท์ในหัวยังมีน้อย ก็ยิ่งทำให้เขาหงุดหงิดมากขึ้นไปใหญ่ ลูกน้อยจะโมโหจากที่ตัวเองอธิบายไม่ถูก และโมโหที่คุณพ่อคุณแม่ไม่เขาใจเขา ผู้ใหญ่จึงมักเข้าใจไปว่าลูกชอบเถียง

สาเหตุอื่นๆ ที่ลูกชอบเถียง

  • พฤติกรรมลอกเลียนแบบ ไม่ว่าจะคุณพ่อคุณแม่เอง หรือโทรศัพท์ โทรทัศน์ เครื่องมือสื่อสารต่างๆ
  • เรียกร้องความสนใจ ลูกกำลังแสดงออกถึงการต่อต้าน ไม่ต้องการถูกควบคุม
  • ไม่เข้าใจว่า คำพูด ส่งผลอะไร ทำความเข้าใจก่อนว่า เด็กในวัยนี้จะยังแยกแยะไม่ได้ ว่าอะไรควรพูดไม่ควรพูด และไม่รู้ว่าสิ่งที่พูดออกไปคือ การเถียง

วิธีรับมือเมื่อลูกชอบเถียง

1. พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

เพราะเด็กเล็กที่เริ่มหัดพูดอาจซึมซับพฤติกรรมการพูดจากผู้ใหญ่ในบ้าน ทั้งคำพูด ท่าทาง การใช้โทนเสียง หากไม่อยากให้ลูกชอบเถียง ผู้ใหญ่ในบ้านก็ต้องไม่ทำพฤติกรรมเหล่านั้นให้เด็กเห็น

2. เปิดใจรับฟัง เข้าใจความคิดของลูก

บางครั้งก่อนที่จะตัดสินว่าลูกกำลังเถียง คุณพ่อคุณแม่ต้องรับฟังเขาก่อน โดยให้เขาพยายามชี้แจงว่าทำไมถึงคิดอย่างนั้น อาจจะถามถึงสาเหตุและให้เขาพูดอย่างมีเหตุผล ซึ่งหากมีการพูดคุยกันด้วยความเข้าใจอยู่เสมอก็จะลดการเถียงลงได้ และเด็กก็จะเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่ดีด้วย

3. สอนลูกด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการพูดคุย ไม่ลงโทษ

เมื่อลูกชอบเถียง หรือใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรหยุดฟัง โดยแสดงสีหน้าและท่าทางปกติ ไม่ควรต่อปากต่อคำกับลูก และไม่ตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ เพื่อให้เขารู้ว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่ไม่ควรทำ เมื่อลูกหยุดเถียงจึงค่อย ๆ สอนและบอกวิธีสื่อสารที่ถูกต้องว่าควรพูดอย่างไร ควรใช้น้ำเสียงพูดกับผู้อื่นอย่างไรจึงจะน่าฟัง

4. เปิดโอกาสให้ลูกขอโทษ และแก้ตัว

เมื่อลูกทำผิด คุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ขอโทษ และแก้ตัว หากลูกทำได้อย่าลืมชมว่า พยายามดีมาก เพื่อให้เขามีกำลังใจและอยากทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป

ลูกชอบเถียง

วิธีฝึกลูกให้คิดวิเคราะห์

เพราะความที่เป็นเด็ก เค้าจะมีความอยากรู้อยากเห็น และขี้สงสัยอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้เค้าได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ก็จะยิ่งเป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์ได้ดีทีเดียว และการที่ลูกชอบเถียงก็จะหมดไป  

  • พูดเรื่องยากๆ ซับซ้อนต่อหน้าลูกบ้างก็ได้เช่น ความเป็นไปของโลก ศิลปะ วัฒนธรรม การเมือง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ชอบ หรือสิ่งที่อยากทำให้ดีขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะไม่เข้าใจ เพราะเค้าจะถามเอง
  • ยอมรับความแตกต่างและความอยากรู้อยากเห็น ใจเย็นๆ เปิดใจกว้างและแย้งกันด้วยเหตุผล แต่การเปิดใจกว้างไม่ใช่เปิดในทุกเรื่อง ต้องมีขอบเขตที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ ไม่เข้มงวดเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
  • ทำให้ลูกรู้สึกว่าบ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย เด็กๆ สามารถรู้จักอารมณ์ของตัวเอง รู้เท่าทันอารมณ์ และให้รู้ว่าทุกอารมณ์สามารถจัดการได้ ไม่มีร้ายหรือดี ไม่คงอยู่กับเราตลอดไป แต่พฤติกรรมจากอารมณ์ควรมีขอบเขตเสมอ จะทำให้การที่ลูกชอบเถียงลดลงได้
  • ฟังให้มากกว่าพูด ไม่ด่วนสรุป ใช้เวลาพูดคุยกัน ทำให้การพูดคุยเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ครอบครัว ที่สำคัญ “หลีกเลี่ยงการวิจารณ์” เพราะการวิจารณ์จะทำให้การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นปิดตาย
  • เป็นตัวอย่างในการเคารพความคิดเห็นของคนอื่น คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมว่าลูกๆ มักจะทำตามคุณพ่อคุณแม่ โดยข้อนี้ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกหัวข้อมาหนึ่งหัวข้อที่คุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่าลูกมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับเรา จากนั้นก็แสดงให้เค้าเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถเคารพความคิดเห็นของอีกฝ่ายได้ แม้จะคิดไม่เหมือนกันเลยก็ตาม
  • ใช้โอกาสจากความผิดพลาด เพื่อให้ลูกๆ ได้ก้าวผ่านและใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน ข้อนี้จะทำให้เค้าเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
  • ให้ลูกๆ ได้ฝึกตัดสินใจเอง จริงๆ เค้าจะได้มีประสบการณ์ทั้งเรื่องของความสำเร็จและความล้มเหลวเป็นของตัวเอง

ทำอย่างไรให้ “เถียง” อย่างสร้างสรรค์

ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน เริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กอย่างชีวิตประจำวัน นิตยสาร หนังสือ ดนตรี รายการโทรทัศน์ หรือไปจนเรื่องใหญ่ๆ เอาเป็นเอาตายอย่างเรื่องของภาพลักษณ์ ท่าที หุ้น ฯลฯ แต่จะทำอย่างไรให้ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันนี้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์

  • ทำให้การโต้แย้งเป็นเรื่องสนุกและเชื่อมโยงกับวัยของเค้าได้ อาจเริ่มจากหนังสือหรือหนังที่ลูกชอบ และค่อยๆ ขยับไปเรื่องใหญ่ๆ เมื่อเค้าโตขึ้นและถึงเวลาที่เหมาะสม
  • สอนให้ลกรู้จักความต่างของความคิดเห็นและการเถียง ซึ่งการพูดว่า “ฉันคิดอย่างนี้” มันง่าย แต่การจะอธิบายว่า “เพราะอะไรถึงคิดอย่างนี้” ยากกว่า
  • สอนให้ลูกได้รู้จัก “ความผิดหวัง” บ้าง เพราะเค้าไม่อาจจะได้ทุกอย่างตามที่หวังไว้
  • พิจารณามุมมองและเหตุผลต่างๆ ทุกแนวคิดต้องถูกตรวจสอบและประเมินค่าก่อนจะถูกตัดทิ้ง
  • ให้รู้จัก “การยกตัวอย่างค้าน” (counterexample) ลองจินตนาการถึงการโต้แย้ง ที่ไม่ได้เป็นไปตามคิด เพื่อฝึกการคิดให้รอบด้าน

วิธีการปรับพฤติกรรม “ลูกชอบเถียง

  • ลูกชอบเถียง คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์

เมื่อลูกพยายามที่จะอธิบายไปพร้อมลูกเองก็เริ่มโมโห พูดเสียงดังใส่คุณพ่อคุณแม่ ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ ต้องตั้ง mind set อย่างนี้ก่อนว่าเรากับลูกคือพวกเดียวกัน ลองคิดว่าถ้าเราอายุเท่าลูก เราจะทำแบบลูกไหม ไม่ใช้อารมณ์นำทาง ไม่ดุลูก หรือตวาดลูกกลับ เพราะนั่นจะเป็นพฤติกรรมที่ลูกเลียนแบบจากคุณพ่อคุณแม่ได้

  • ลูกชอบเถียง ต้องเปิดใจ รับฟังลูก

ในขณะที่ลูกกำลังพยายามอธิบายด้วยความโมโหนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจรับฟังลูก หรือหากมีศัพท์บางคำที่ลูกคิดไม่ออก คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดเสริมให้ลูกได้ หากระหว่างนั้นคุณพ่อคุณแม่พอจะจับประเด็นในสิ่งที่ลูกต้องการได้แล้ว ให้พูดทวนความต้องการของลูก แบบนี้ก็จะช่วยให้ลูกลดระดับเสียง และลดอารมณ์โมโหได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจบอกลูกว่า “สิ่งที่ลูกพูดมาต้องเป็นเรื่องจริงทั้งหมด ไม่โกหกนะ ไม่อย่างนั้นแม่จะไม่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของหนู”

สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือตัวของพ่อแม่เอง ที่จะเจรจากับลูกให้ทำตามด้วยการตี ความรุนแรง การตะโกน การบังคับขัดขืนใจ หรือการพูดกับลูกดีๆ ด้วยเหตุผล ด้วยเงื่อนไข ด้วยความอ่อนโยนใจเย็นแต่เด็ดขาด เพราะสุดท้ายแล้วลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้นเสมอ อยากแก้ปัญหาลูกชอบเถียงหรืออยากเปลี่ยน ให้ลูกเถียง แสดงความคิดเห็น กล้าโต้แย้ง หรือบอกความต้องการของตัวเองได้ ต้องเริ่มจากพ่อแม่

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ lacasitadelprincipe.com
สนับสนุนโดย  ufabet369