Pretty Privilege

สังเกตกันไหม? เวลาอ่านข่าวในโลกโซเชียล แล้วเจอคอมเม้น Pretty Privilege ให้อภัยผู้กระทำผิด เพราะหน้าตาดี

การเสียชีวิตของ “หมอกระต่าย” หรือพญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล จักษุแพทย์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประเทศได้สูญเสีย บุคลากรแพทย์เฉพาะทาง สายอาชีพที่มีแยู่จำนวนน้อยมากๆ ด้วยอุบัติเหตุที่เกิด จากประมาทของบุคคล ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ บุคคลที่มีความรู้ด้านกฏหมาย มันควรเป็นเหตุที่ไม่ควรจะเกิดเลยเสียด้วยซ้ำ

แต่หลังจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ในโลกสังคมออนไลน์กลับมี อะไรบางอย่างที่สะท้อนออกมาให้เราเห็นเกี่ยวกับ การที่ผู้กระทำความผิด หรือผู้ต้องหา รูปร่างหน้าตาดี และอาจจะไปตรงสเป๊ก ของใครหลายๆ คน ทำให้ผู้ใช้งานโซเชียลไม่น้อย ต่างแสดงความคิดเห็น ที่ไม่เหมาะสมออกมา ซึ่งมันสะท้อนให้เห็นว่า ในสังคมปัจจุบัน ผู้คนจำนวณหนึ่ง เห็นอกเห็นใจ ผู้ต้องหาเพียงเพราะ มีรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูดีเท่านั้น

เป็นเรื่องปกติบนโลก ที่คนหน้าตาดี มักจะได้เปรียบกว่าบุคคลอื่นๆ อยู่เสมอ และมันไม่ใช่เรื่องแปลก ของธรรมชาติมนุษย์ ที่ชอบในความสวย ความงาม จึงทำให้คนที่หน้าตาดี สวยหล่อ หรือรูปร่างดีนั้น จะได้รับโอกาส และความสนใจ เป็นพิเศษมากว่าคนอื่น ที่มีรูปร่างหน้าตาธรรมดา ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเข้าสู้ เพื่อแย่งชิงความโดดเด่น

Pretty Privilege
ไม่ใช่แค่เรื่องของโอกาสทางสังคมเท่านั้ นที่จะได้ประโยชน์จากสิ่งที่พ่อแม่ให้มาแต่กำเนิด

หรือหมอศัลยกรรมเนรมิตออกมาจากคลินิก แต่ถ้าหากคนเล่านี้เกิดกระทำความผิด เช่น ก่อคดีต่างๆ ทั้งที่ตั้งใจหรือแค่ประมาทเลินเล่อ ก็มักจะได้รับความเห็นอกเห็นใจ หรือถึงขั้นให้อภัยได้ง่ายกว่า ในบทความนี้ผู้เขียนจะไม่ได้พูดถึงเรื่องกระบวนการตัดสินทางกฎหมาย

เพราะถึงอย่างไร คนหล่อคนสวย กับคนขี้เหร่ (อันนี้ไม่ได้บูลลี่เรื่องรูปลักษณ์) ก็ต้องได้รับโทษทางกฎหมายเหมือนกันหากกระทำความผิด ซึ่งจะหนักจะเบาก็อยู่ที่มูลความผิด และดุลพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่จะพูดในเชิงจิตวิทยาว่า ความรู้สึกลำเอียงแบบนี้มันมีอยู่จริงในหมู่มวลมนุษย์ด้วยกัน

เมื่อความหล่อสวย อาจมีผลทางความรู้สึกต่อศาล PHYSICAL ATTRACTIVENESS BIAS IN THE LEGAL SYSTEM หรือ อคติความน่าดึงดูดใจทางกายภาพในระบบกฎหมาย เป็นงานวิจัยที่ทางนักจิตวิทยาและทีมนักกฎหมายในสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงกระบวนการยุติธรรมที่จะตัดสินคนๆ หนึ่งและทัศนคติบริบทของสังคมต่อการกระทำผิดของบุคคล พบว่า ผลกระทบของความดึงดูดใจ ทางร่างกายที่มีต่อคณะลูกขุน และผู้พิพากษานั้น มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจพิจารณาคดีเช่นกัน

สามารถทำให้อาชญากรที่หน้าตาไม่ดี ให้ได้รับโทษสูงกว่าอาชญากรที่หน้าตาดีมีเสน่ห์ได้มากถึง 304.88% ในทางกฎหมายความน่าดึงดูดใจในเรื่องรูปลักษณ์อาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลใดๆ ต่อคำตัดสินของผู้พิพากษาในเรื่องความผิด อาชญากรที่หน้าตาดีและหรือขี้เหร่ก็ถูกตัดสินลงโทษอย่างเท่าเทียมกันก็ตาม

แต่ก็มีผลทางจิตวิทยาในบางกรณีที่ทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งที่ก็อยู่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งสามารถเอนเอียงหรือผ่อนปรนคำตัดสินได้เหมือนกัน โดยทั่วไปแล้วคนที่หน้าตาดีมักจะถูกมองว่าฉลาดกว่า มีทักษะทางสังคมมากกว่า มีบุคลิกที่น่าดึงดูดใจมากกว่า มีศีลธรรมมากกว่า เห็นแก่ผู้อื่นมากกว่า มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า

ได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้จัดการมากกว่า และมีความสามารถมากกว่า คนที่มีเสน่ห์ดึงดูดมักจะมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น มีประสบการณ์การออกเดทที่ดีขึ้น หารายได้มากขึ้น ได้ตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ได้รับเลือกให้ทำงานบ่อยขึ้น ได้รับการเลื่อนตำแหน่งบ่อยขึ้น ได้รับการประเมินงานที่ดีขึ้น และได้รับเลือกให้เป็นหุ้นส่วนธุรกิจบ่อยกว่า คนที่ไม่หล่อไม่สวย

ผลการศึกษาที่เป็นการวิจัยที่ดำเนินการโดย Downs and Lyons

จุดประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างความน่าดึงดูดใจของอาชญากรกับผลการพิจารณาพิพากษา จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อประเมินความน่าดึงดูดใจของอาชญากรกว่า 2,000 คน ใช้มาตราส่วน 1 – 5 ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน จากนั้น คำตัดสินของผู้พิพากษา ในการพิจารณาคดีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

คือ ความผิดทางแพ่งและความผิดทางอาญา โดยความผิดทางอาญาก็แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามความรุนแรงของอาชญากรรม ผลลัพธ์ก็คือ ผู้พิพากษามีการลงโทษอาชญากร ที่หน้าตาไม่ดีมากกว่าอาชญากรที่น่าตาดีอย่างมีนัยสำคัญ โดยอัตราโทษมีการปรับเพิ่มขึ้น ทีละน้อยเมื่อความน่าดึงดูดใจลดลง

ไม่เพียงเท่านั้น ผลวิจัยการพิจารณาคดี ในศาลเพนซิลเวเนียและฟิลาเดลเฟีย ยังเผยอีกว่า ยิ่งผู้กระทำความผิด “หน้าเด็ก” หรือดูอ่อนกว่าวัยมากเท่าไหร่ อัตราโทษก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน และผู้กระทำความผิดที่เป็นชาวผิวสีอื่นๆ หรือเชื้อชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนผิวขาวก็ได้รับความเห็นใจไม่เท่าเทียมกัน

ยิ่งผู้ใหญ่หน้าเด็กมากเท่าไร โอกาสที่เขาหรือเธอจะถูกพบว่ามีความผิดจาก “การกระทำโดยเจตนา” ในการเรียกร้องทางแพ่ง ก็จะน้อยลงเท่านั้น ส่วนในประเทศแคนาดานักวิจัยพบว่า เมื่อเหยื่อที่เป็นผู้บริสุทธิ์และมีเสน่ห์น่าดึงดูด ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานมาก ในการหาว่าจำเลยมีความผิด แต่ในทางกลับกัน เมื่อเหยื่อไม่สวยไม่หล่อ

มีความจำเป็นต้องพยายาม หาหลักฐานเพิ่มเติมมากกว่า เพื่อกล่าวหาว่าจำเลยมีความผิด ในการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนที่จำลองการคดีข่มขืนพบว่า เหยื่อที่น่าดึงดูดมีแนวโน้ม ที่จะถูกเชื่อว่าเป็นเหยื่อของการข่มขืนมากกว่าเหยื่อที่ไม่สวย เหยื่อที่ไม่สวยมีความเชื่อน้อยกว่า และคิดว่าที่ถูกข่มขืนเพราะพยายามอ่อย หรือยั่วยวนอีกฝ่ายด้วย

ประเด็นเรื่องคงามลำเอียง ในการตัดสินว่าผิดหรือถูก ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เพราะแม้แต่ในยุคกรีกโบราณ การติดสินคดีความก็เคย มีการใช้บรรทัดฐานความงามมาลบล้างความผิดเช่นกัน มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการพิจารณาคดีของ ‘Phryne’ โสเภณีในยุคกรีกโบราณที่กล่าวว่า คณะลูกขุนชาวกรีกตัดสินใจที่ยกฟ้อง

และทำให้เธอพ้น จากการถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน เพียงเพราะเธอเป็นผู้หญิงที่สวยมากต้องอยู่ในพระหรรษทานที่ดีของเหล่าทวยเทพ มีคดีหนึ่งที่สังคมออกมาเรียกร้อง ให้ลดโทษผู้ก่อเหตุที่ขับรถซิ่งชนคนตายในในสหรัฐฯ และต้องโทษจำคุก 24 ปี เมื่อเดือนเมษายนปี 2021 โดยผู้ต้องหาชื่อ Cameron Herrin

โดยขับรถแข่งกับอีกคันมาด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. ก่อนจะเสียหลักพุ่งชน Jessica Reisinger-Raubenolt คุณแม่ลูกอ่อนวัย 24 ปีที่พาลูกสาววัยขวบกว่าๆ มาเดินเล่นริมน้ำในเมือง Tampa รัฐฟลอริด้า และกำลังเดินข้ามถนนเพื่อกลับไปยังที่พักจนเสียชีวิต

เมื่อหน้าของเขาปรากฏบนสื่อ ซึ่งเขาเป็นเด็กหนุ่มน่าตาดี ก็เกิดกระแสการเรียกร้องโดยทำแคมเปญผ่านโซเชียลมีเดีย ให้ศาลลดโทษให้เขา เพราะเขาหล่อไม่ควรติดคุกนานถึง 24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง กลายเป็นประเด็นดราม่าถึงความคิดป่วยๆ ของคนเหล่านี้ที่เรียกร้องในเรื่องที่ไม่เหมาะสม

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในงานวิจัยของต่างประเทศที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า “Pretty Privilege” หรืออภิสิทธิ์ของคนหน้าตาดี ว่าทำไมรูปลักษณ์ภายนอกถึงมีผลต่อความรู้สึกของผู้คนที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่คนทั่วไปเท่านั้น แม้แต่การพิจารณาคดีในชั้นกฎหมายก็มีผลเช่นกันไม่มากก็น้อย แม้ว่าอัตราโทษจะต้องได้รับเหมือนกัน แต่ในทางจิตวิทยาแล้วก็มีบางส่วนที่ทำให้เกิดการลำเอียงได้

ขอบคุณ แหล่งที่มา : reporter-journey.com

สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : lacasitadelprincipe.com